วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2555



       "Ukulele" ถือเป็นเครื่องดนตรีอะคูสติกอีกชนิดหนึ่ง ที่มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย สำหรับมือใหม่หัดจับ Ukulele คงจะมีปัญหา
ไม่แตกต่างกับคนที่กำลังจะซื้อกีต้าร์โปร่ง(6สาย)
นั่นคือ การเลือกซื้อ บางท่านรู้สึกไม่มั่นใจว่า เรามีความสามารถในการตัดสินใจเลือกซื้อหรือไม่ ต้องดูอย่างไรถึงจะได้ของดีมีคุณภาพ รูปร่างหน้า หรือขนาด (Body Size) ของเจ้า Ukulele ที่เหมาะกับเรา
เป็นอย่างไร เหมือนเป็นคำถามประจำชาติ ของคนที่คิดจะเล่นดนตรีจริงๆ ครับ ไม่ว่าจะ
Ukulele หรือจะเป็นเครื่องดนตรีประเภทไหนๆ ก็ตาม สำหรับคำถาม...เลือกซื้ออย่างไร? จึงเป็นคำถามที่ฮิตติดอันดับ 1 จริงๆ
ว่าแล้วมาเข้าเรื่อง "การเลือกซื้อ Ukulele" กันครับ ว่ามีข้อควรคำนึง และ ควรทราบอย่างไรบ้าง



มาตรฐานของงานประกอบ
มาตรฐานของงานประกอบ ถึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ตามประสบการณ์ของผู้เขียน
Ukulele บางยี่ห้อที่วางในตลาดบ้านเรา
มีไม่น้อยเลย ที่มีมาตรฐานการประกอบที่ต่ำความมาตรฐาน ส่วนใหญ่ที่มีปัญหาคือ ลูกบิดหลวม หลังตั้งสายเรียบร้อย เล่นได้
ไม่ถึงนาที สายเพี้ยนอีกแล้ว ต้องตั้งกันใหม่ เรียกว่า ถ้าคิดจะเล่น 1 เพลง อาจจะต้องตั้งสายประมาณ 5 รอบ
!

เฟรต
(Fret) ไม่เรียบร้อย เวลาขยับมือซ้าย เหมือนจะมีเฟรตบาดมือ(ในขณะที่เราจับคอ Ukulele ด้วยมือซ้าย), บางครั้ง เจอะ Bridge(สะพานสาย) ขยับเหมือนจะหลุดออกมาจาก TOP(ไม้ส่วนหน้า) ปัญหาจากการติดกาวที่ไม่มีคุณภาพ ดังนั้น สำหรับมือใหม่ ควรจะต้องรอบขอบสักนิด ตรวจสอบในจุดสำคัญที่กล่าวมาข้างต้น




ขนาดของ Ukulele
Ukulele แบ่งออกเป็น 4 ขนาด แต่ที่นิยมเล่นกันจริงๆ มี 3ขนาด คือขนาด Soprano, Concert, และ Tenor
แต่ละขนาดล้วนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว (ตามภาพประกอบด้านบน)

- ขนาด
Soprano
Ukuele ขนาด Soprano คือ Ukulele ที่ขนาดเล็กที่สุด ทำให้การพกพา เคลื่อนที่ ติดตัวไปเล่นตามสถานที่ต่างๆ ทำได้ง่ายมาก
แต่เสียงก็จะเบาไปตามขนาดตัว สามารถประคองหรือโอบแนบตัวเพื่อเล่น ก็ยังทำได้ง่ายมาก


- ขนาด Concert
Ukulele ขนาด Concert ถือเป็นขนาดมาตรฐาน และมีผู้นิยมเล่นมากที่สุด การพกพา เคลื่อนที่ ติดตัวไปเล่นตามสถานที่ต่างๆ
ก็ทำได้ไม่ยาก แถมยังได้เสียงที่ดังขึ้นมาอีก

- ขนาด
Tenor
Ukulele ขนาด Tenor ถือเป็นขนาดใหญ่ที่สุด (ในบรรดาขนาดทั้งหมดที่นิยมเล่นกัน) ใกล้เคียงกับ Guitarlele (มี 6 สาย)
การยังสามารถพกพา เคลือนที่ ติดตัวได้ไม่ยากเช่นกัน เสียงจะกังวาน และดังที่สุด แต่การโอบขึ้นเพื่อเล่น จะทำได้ยาก
ไม่คล่องตัวเหมือนขนาด
Soprano และ Concert

- ขนาด Baritone เป็นขนาดใหญ่ที่ให้เสียงใกล้เคียงกับกีต้าร์โปร่ง 6 สายมากที่สุด แต่ไม่เป็นที่นิยมในกลุ่มคนเล่น
เนื่องจากเสียงที่มันใกล้เคียงกับกีต้าร์โปร่ง 6 สายเกินไป


สรุป... ทุกๆ ขนาด ล้วนมีข้อเด่น ข้อด้อย และขอบเขตจำกัดในการใช้งาน
ดังนั้น ผู้เล่นต้องเป็นผู้ตัดสินใจว่า ให้ความสำคัญกับจุดใดมากที่สุด ว่าแล้ว... เราลองมาดูรายละเอียดเรื่อง ข้อเด่น ข้อด้อย
ของ
Ukulele แต่ละขนาดกันต่อ...

    
      

ข้อเด่น ข้อด้อย ของ Ukulele แต่ละทรงUkulele จะเน้นเรื่องขนาดเป็นสำคัญ (นอกจากประเภทไม้แล้ว) เพราะขนาดเป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดเสียง ว่าเสียงจะออกมา
โทนใด ผู้เล่นควรยอมรับก่อนว่า ไม่มี
Ukulele ขนาดใดที่โลก ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เล่นได้ทั้งหมด แต่ละขนาด
ล้วนมีจุดเด่น จุดด้อย แตกต่างกันออกไป เรามาวิเคราะห์กันว่า
Ukulele แต่ละขนาด มีข้อดี ข้อด้อย แตกต่างกันอย่างไร- ขนาด Soprano
หากผู้เล่นนิยมเล่นแบบ
Strumming หรือตีคอร์ด Ukulele ขนาด Soprano ถือว่าเป็นทางเลือกอันดับ 1 เนื่องจากคอ(Neck)
มีขนาดเล่น ทำให้เล่นด้วยมือซ้ายได้ง่าย เนื้อเสียงมีความคมชัด หางเสียงแหลม และให้ย่านเสียงสูงที่ยอดเยี่ยมที่สุด
!
ว่ากันว่า... โทนเสียงของ
Ukulele ขนาด Soprano คือเสียงของ Ukulele แบบยุคดั้งเดิม จะเรียกว่ามีกลิ่นของฮาวายมากที่สุด ก็คงไม่ผิด (Ukulele ถือกำเนิดและได้รับความนิยม เป็นที่แรก ในเกาะฮาวาย)- ขนาด Concert
สำหรับผู้เล่นที่ชอบเล่นทั้งแบบ
"Strum Chord" และแบบ "Finger Picking" (แบบดีดที่ละสาย) ยอมต้องการพื้นที่บน Fingerboard
มากกว่า Ukulele ขนาด Soprano แน่นอน ดังนั้น... ขนาด Concert จึงรองรับการเล่นที่หลากหลาย และกว้างกว่าขนาด Soprano Ukulele ขนาด Concert ให้เสียงคมชัด กังวาน ย่านเสียงกลางจะโดดเด่นกว่าทรง Soprano และ ยังสามารถเล่นแบบ Solo หรือ
การเล่นแบบที่ละตัวโน๊ต ก็สามารถทำได้ไม่ยาก
- ขนาด Tenor
ในบรรดาขนาดของ
Ukulele ที่นิยมเล่นกันนั้น Tenor ถือเป็นขนาดที่ใหญ่ที่สุด สำหรับผู้ที่ชอบเล่นแบบ Finger Picking รวมไปถึงFinger Style ดังนั้นขนาด Tenor จึงสามารถตอบสนองการเล่นได้ดีที่สุด เนื่องจากมีพื้นที่ในส่วน Fingerboard กว้างพอ ที่จะให้เล่น
ได้อย่างสบายๆ การวางนิ้วมือซ้ายลงบนฟิงเกอร์บอร์ดทำได้ง่าย (นิ้วไม่เบียดกัน)

เสียงของ
Ukulele ขนาด Tenor จะโดดเด่นที่ย่านเสียงกลาง ย่านเสียงต่ำ และยังได้เสียงเบสมากขึ้น แต่เสียงคมๆ หรือย่านเสียงสูง จะไม่โดดเด่นเท่ากับขนาด Soprano และ Concert ที่ได้กล่าวมาข้างต้น





ยี่ห้อและแหล่งผลิต
หลายท่านอาจจะเคยมีมุมมองไม่ดีกับ
Made in China แต่ผู้เขียนอยากให้ผู้อ่าน ได้เปิดใจกว้างขึ้น เพราะสินค้าหลากหลายประเภท
รวมถึงเครื่องดนตรีในสมัยนี้ ล้วนมาจาก
Made in China แถบทั้งนั้น ดังนั้น เอาเวลาที่จะต้องมาสนใจเรื่องว่าผลิตจากที่ไหน
มาเรียนรู้วิธีการเลือกซื้อ และเพิ่มทักษะในการเข้าใจอุปกรณ์ที่เราจะซื้อว่าควรเลือกแบบใดจะดีกว่า

สำหรับยี่ห้อ แน่นอนว่า เครื่องดนตรียี่ห้อเก่าแก่ทุกๆอย่าง ยอมมีราคาค่าตัวสูง สำหรับคนงบน้อยจึงเป็นเรื่องไกลตัว
ผู้เขียนเลยขอเน้นว่า ยี่ห้อใหม่ๆ ที่งานฝีมือปราณีต และมีคุณภาพก็มีอยู่เยอะ ฉะนั้น อย่าไปติดกับยี่ห้อเกินไป จนลืมไปว่า
คุณต้องการอะไร, คุณต้องการยี่ห้อ หรือต้องการคุณภาพเสียง ลักษณะเสียง รูปลักษณ์ ฯลฯ ผมบอกได้เลยว่า ไม่มีเครื่องดนตรี
ยี่ห้อใด จะตอบสนองคุณได้ทุกๆอย่าง ดังนั้น จึงไม่แปลกที่หลายคนจะมี
Ukulele หลากหลายยี่ห้อตั้งไว้บ้าน เหตุก็เพราะว่า
แต่ละยี่ห้อต่างมีเอกลักษณ์ทางด้านเสียง และรูปลักษณ์ ที่โดดเด่นต่างกันออกไป

งบประมาณสำหรับมือใหม่ ผู้เขียนคิดว่า
Ukulele ในช่วงราคา 2,000 - 3,000 บาท ถือเป็นการเริ่มต้นได้แล้ว แต่ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณ
ในกระเป๋าของแต่ละท่านด้วย บางท่านมีงบมาก ก็พร้อมที่จะเริ่มต้นกับ
Ukulele หลักหลายพัน หรือหลักหลายหมื่นก็ไม่ใช่เรื่องผิด
ดังนั้น การจะดูว่า
Ukulele ราคาเท่าไร จึงจะดี หรือเหมาะทีสุด ผู้เขียนขอตอบว่า ให้ดูงบประมาณของท่านเอง การเล่นดนตรี
หากไม่ทำให้เราเป็นทุกข์ และเพิ่มพูนความสุขให้เรา ถือว่าเป็นความสมบูรณ์แบบแล้วครับ





วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555


คราวนี้ขอแนะนำเครื่องดนตรีน่ารักๆ Ukulele ให้คุณได้ รู้จักกัน นี่ไม่ใช่ของใหม่ เพราะมันอยู่คู่โลกแห่งดนตรีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 แล้ว โดยมีต้นกำเนิดจากการที่ชาวพื้นเมือง ในฮาวาย ใช้วิชาครูพักลักจำ ประดิษฐ์เครื่องดนตรีเลียนแบบเครื่องดนตรีคล้ายกีตาร์ นามว่า Cavaquinho ที่ชาวโปรตุเกสขนมาเล่นให้ชาวฮาวายได้สดับกัน ต้องขอบคุณชาวโปรตุเกส ที่อุตส่าห์หอบเอาเจ้าเครื่องดนตรีนี้ ขึ้นเรือข้ามน้ำข้ามทะเลมาตั้งไกล เพราะหากชาวฮาวายเอี้ยนไม่นำมาประยุกต์ใช้เป็นการใหญ่ มันก็คงไม่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกดังทุกวันนี้หรอกครับ 

ช่วงแรก Ukulele ใช้สำหรับบรรเลงเพลงฮาวายเอี้ยนขับกล่อมชาวเกาะให้ครื้นเครง โดยมีพระราชาชาวเกาะ King David Kalakaua เป็นผู้สนับสนุนใหญ่ จนใครๆ ในเกาะก็พากันเล่นเจ้าตัวจิ๋วนี้ จากนั้นตั้งแต่ช่วงก่อนสงครามโลก ครั้งที่สอง Ukulele ก็เริ่มมีคนรู้จักมากขึ้น และเนื่องจากขนาดอันกะทัดรัดและราคาที่ไม่แพง มันเปลี่ยนสถานะจากเครื่องดนตรีพื้นเมืองกลายเป็นเครื่องดนตรีสากล มีนักดนตรีจาก แผ่นดินใหญ่อเมริกานำมาเล่นกันหลากหลายแนว ไม่เว้นแม้แต่ศิลปินแจ๊ซ ความโดดเด่นในวงการเพลงของมันมาถึงจุดสุดยอดในช่วงยุค 60"s ก่อนที่ความนิยมจะเริ่มซาหายไปตามกาลเวลา จนเมื่อช่วงปลายยุค 90"s นี้เอง ที่ Ukulele กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง เมื่อ Jake Shimabukuro มือ Ukulele หนุ่มน้อยเชื้อสายญี่ปุ่น-ฮาวาย นำมันมาบรรเลงเพลงร่วมสมัยด้วย ลีลามากลวดลายน่าทึ่ง จนได้รับสมญานามว่าเป็น อัจฉริยะ Ukulele 

ปัจจุบันนักฟังเพลงหลายท่านน่าจะเคยเห็น เคยได้ยินเสียงของมันมาแล้ว เพราะปัจจุบันมีศิลปินพ็อปชั้นนำเอามาขึ้นเวทีกันบ่อยๆ ที่เห็นชัดๆ ก็เห็นจะเป็น Jack Johnson และ Jason Mraz คนส่วนใหญ่เห็น แต่คนส่วนมากมักไม่ทราบว่ามันคืออะไร ทุกครั้งที่ผมหยิบเจ้า Ukulele ขึ้นมาเล่น มักจะมีคนหัวเราะแล้วถามว่า กีตาร์จิ๋วนี่มันเล่นได้จริงๆ หรือ ? คำตอบของผมคือ 1.มันไม่ใช่กีตาร์ วิธีจับคอร์ด และการตั้งสายต่างๆ ไม่เหมือนกันเลย แต่หากเล่นกีตาร์มาก่อน ก็ปรับตัวทำความเข้าใจได้ไม่ยาก 2.ถึงไม่ใช่กีตาร์ แต่มันก็เล่นได้ไพเราะเพราะพริ้งไม่แพ้กีตาร์เลยครับ แถมสายไนลอนจับสบายมือ เล่นง่าย และให้เสียงใสๆ ฟังแล้วคิดถึงกลิ่นอายทะเล 

อันชื่อ Ukulele นั้น แปลห้วนๆ แบบชาวเกาะชิวๆ ได้ว่า "หมัดกระโดด" ซึ่งน่าจะมาจากลักษณะของนิ้วผู้เล่น ที่ต้องสลับที่กดเด้งไปมาบนคอ Ukulele ที่ดูแบบมีศิลปะแล้ว คล้ายกับตัวหมัดกำลังกระโดดไปมาบนทุ่งหญ้า ส่วนอีกศาสตร์กล่าวว่า ตามหลักภาษาฮาวายเอี้ยน Uku แปลว่า "ของขวัญ" ส่วน Lele แปลว่า "การมา" ซึ่งน่าจะพอกล้อมแกล้มแบบมีเหตุผลไปได้ว่า ความหมายของมันคือ "ของขวัญที่ได้มา (จากชาวโปรตุเกส)" ส่วนการออกเสียงนั้น หากออกเสียงเรียกแบบคนอเมริกัน เขาเรียกว่า "ยู คะ เล ลี่" ชาวฮาวายเอี้ยนเรียกมันว่า "อู คู เล่ เล่" ส่วนนักดนตรีสมัยใหม่ขี้เกียจพูดยาว ตั้งชื่อเล่นให้มันสั้นๆ ว่า "ยู้ค" จะเรียกอย่างไรก็ตาม ล้วนเป็นเครื่องดนตรีชิ้นเดียว กันหมด 

นอกจากมีหลายชื่อแล้ว Ukulele ยังไม่ได้มีแค่ขนาดเดียว ขนาดของมันเริ่มตั้งแต่ soprano ซึ่งเป็นขนาดดั้งเดิม ที่เหมาะสำหรับใช้เล่นตีคอร์ดสนุกสนาน ตามด้วย concert ที่คอยาวขึ้นเพื่อใช้เล่นแบบ fingerstyle ต่อด้วย tenor ที่ขนาดใหญ่ขึ้นมาอีกขั้น พร้อมเฟร็ตที่มากขึ้น และเสียงที่ทุ้มกังวาลกว่า ปิดท้ายด้วย baritone ที่ใหญ่ที่สุด และตั้งเสียงไม่เหมือนขนาดอื่น (ตั้งเสียงแบบสี่สายล่างของกีตาร์ปกติ) เสน่ห์อีกอย่างของ Ukulele คือไม้ที่นำมาทำ หากจะให้ถูกตามต้นตำรับแล้ว เขาต้องใช้ไม้ Koa ซึ่งปัจจุบันมีราคาแพงและเริ่มหายาก ไม้ชนิดนี้ให้สุ้มเสียงสดใส แหลมพุ่ง ถูกใจเซียน Ukulele มากที่สุด ปัจจุบันนอกจากจะใช้ไม้แบบต้นตำรับแล้ว ยังมีการนำไม้ชนิดเดียวกับที่ใช้ทำกีตาร์ เช่น Spruce Mahogany Maple มาประกอบเป็นเจ้าตัวจิ๋วนี้ ไม้แต่ละชนิดให้เสียงแตกต่างกันไปตามชนิดของมัน ระยะหลังมีผู้ผลิตรุ่นใหม่ นำไม้แปลกๆ เช่น Mango มาทำก็มี ว่ากันว่าไม้มะม่วงนี้ เปล่งเสียงออกมาได้ใกล้เคียง Koa มากทีเดียว ส่วนผู้ผลิตหัวก้าวหน้ารายหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก กับการผลิต Ukulele จากไฟเบอร์กลาส ซึ่งก็ให้เสียงดีมีสไตล์ ต่างไปอีกแบบ 

ส่วนที่บ้านเรา ตอนนี้มีตัวแทนจำหน่ายหลายราย เริ่มนำ Ukulele เข้ามาเป็นอีกตัวเลือกให้นักดนตรีไทยแล้ว แต่ออกจะหายากสักนิด และรุ่นใหญ่ๆ แพงๆ ดีๆ ไม่ค่อยมี ส่วนรุ่นถูกๆ ที่ขายอยู่ทั่วไป ส่วนใหญ่คุณภาพไม่ดี เสียงเพี้ยนง่าย เป็นแบบตาดีได้ตาร้ายเสีย ต้องลองเล่น ลองบิดลูกบิดให้ดีก่อนซื้อ ผมเชื่อว่าไม่นานนี้น่าจะมี Ukulele ดีๆ ทยอยเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยมากขึ้น ตามกระแส Ukulele Fever ที่แรงขึ้นเรื่อยๆ ไปทั่วโลก